วีดีโอเรื่องฟังก์ชันจาก A ไป B (ตัวอย่างเพิ่มเติม)

 

ฟังก์ชันจาก A ไป B (ตัวอย่างเพิ่มเติม) สอนโดย

พี่โต๋ วชิรา โอภาสวัฒนา

  • เมื่อเรียนเนื้อหาเรื่องฟังก์ชันจาก A ไป B (ตัวอย่างเพิ่มเติม)เสร็จแล้ว ลองทำแบบฝึกหัดท้ายคลิปด้วยนะคะ เพื่อให้เรารู้เรื่องเนื้อหานี้ได้ถ่องแท้
  • เรียนควบคู่กับหนังสือค่ะ สามารถ Download เป็น PDF และ Print เองได้เลย หรือถ้าไม่อยาก Print ก็มีหนังสือเป็นเล่มให้สั่งซื้อค่ะ สั่งซื้อหนังสือ

 

เกี่ยวกับฟังก์ชันจาก A ไป B (ตัวอย่างเพิ่มเติม)

ตัวอย่าง 2-5 ของฟังก์ชันจาก A ไป B เป็นตัวอย่างระดับยากขึ้นอีกขั้นค่ะ

 

วิธีการใช้งาน VDO Player เวอร์ชั่นใหม่

(A) ส่วนควบคุมคลิปวีดีโอ สามารถกดหยุด เล่นต่อ ปรับความเร็ว ปรับเสียง ซูมเต็มหน้าจอ ได้ครับ

(B) รายละเอียดคลิปวีดีโอที่เล่นอยู่ ระดับชั้น ความยาว ชื่อผู้สอน หน้าในหนังสือ (กรณีสั่งซื้อหนังสือเรียนเพิ่ม) และ link download ชีทเรียนในรุปแบบ pdf ครับ

(C) Table of Content เป็นเหมือนสารบัญ คลิ๊กได้ด้วยนะว่าอยากเรียนเรื่องอะไร ไม่ต้องกรอเอง >_<

(D) แบบฝึกหัดท้ายคลิป ในส่วนนี้ จะทำก่อนหรือทำหลังดูคลิปก็ได้ทั้งนั้นครับ มีระบบตรวจคะแนนพร้อมคลิปเฉลยครับ

(E) คำถาม-คำตอบเกี่ยวกับคลิป มีคำถามถามได้ตรงนี้เลยนะครับ

วิธีแก้ปัญหาเบื้องต้น

ในกรณีที่วีดีโอไม่โหลด หรือค้าง ให้กด Ctrl+F5 (หรือ Ctrl+R) เพื่อสั่งให้โหลดใหม่นะครับ

 

 

พูดคุยเรื่อง ฟังก์ชันจาก A ไป B (ตัวอย่างเพิ่มเติม)

ดูคลิปเรื่อง ฟังก์ชันจาก A ไป B (ตัวอย่างเพิ่มเติม) จบแล้ว เป็นยังไงกันบ้างคะ ถ้าน้องๆมีคำถาม อยากจะสอบถามเพิ่มเติม คอมเม้นท์ บอกสิ่งที่น้องสงสัยลงมาที่นี่ได้เลย ถามให้เจาะจงมากขึ้น ด้วยการบอกเลขนาที และสิ่งที่สงสัย หรือบอกสิ่งที่คิด ขั้นตอนที่ตัวเองจะทำ พี่โต๋มาตอบให้เอง ตอบแล้วมีระบบแจ้งเตือนให้น้องทราบด้วยค่ะ

ส่วนการบ้านอื่นๆ ของ ฟังก์ชันจาก A ไป B (ตัวอย่างเพิ่มเติม) น้องโพสถามได้ที่ เว็บบอร์ด ค่ะ ไม่ต้องพิมพ์ ถ่ายรูปโพสต์ได้เลย

 

 

# 30 เม.ย. 2557, 15:18:50 แจ้งลบ
พี่คะหนูไม่เข้าใจว่าแต่ละแบบที่ได้มาคืออะไรบ้างอ่ะ?
เหมือนข้อ.3 A={1,2} B={1,2,4} ได้มา 9 แบบ แล้ว 9 แบบนี้มีอะไรบ้างคะ ???
# 30 เม.ย. 2557, 16:34:44 แจ้งลบ
ไล่จากข้อ 1 ก่อนแล้วกันนะ เอาน้อยๆ ก่อนจะได้เห็นง่าย
# 30 เม.ย. 2557, 16:48:31 แจ้งลบ
ข้อ 1 A = {1,2} , B = {3}
จับคู่ให้เป็นฟังก์ชันจาก A ไป B
แบบที่ 1 ได้ f = { (1,3),(2,3) } ได้แค่แบบเดียวค่ะ

ข้อ 2 A = {1,2} , B = {2,4}
แบบที่ 1 f = {(1,2) , (2,2)}
แบบที่ 2 f = {(1,4) , (2,4)}
แบบที่ 3 f = {(1,2) , (2,4)}
แบบที่ 4 f = {(1,4) , (2,2)}

เป็นแบบนี้ค่ะ แต่ปกติโจทย์จะไม่เขียนแจงออกมานะ ว่ามีอะไรบ้าง มันเยอะ คิดแค่จำนวนวิธีพอ
# 22 ก.ค. 2556, 21:42:45 แจ้งลบ
แบบ onto อ่ะค่ะ ทำไมต้องลบออกคะ เพราะว่าถ้าโดเมนเป็น A แล้วเรนจ์ ก็เป็น B เช่น ถ้า A=(1,2,3) B=(6,7)
ฟังก์ชั่นที่เป็นไปได้ทั้งหมดจาก A ไปทั่วถึง B ทำไมต้องลบออกสองวิธี คือหนูเข้าใจว่าถ้าเป็นแบบทั่วถึงแล้ว B จะต้องถูกจับคู่ทุกตัวแต่ซ้ำกันได้ค่ะ (ไม่รู้ว่าเข้าใจผิดหรือเปล่า) แต่ตัวที่พี่โต๋ลบออกเป็นกรณีที่ B ถูกจับคู่ตัวเดียว รบกวนช่วยอธิบายหน่อยนะคะ
# 22 ก.ค. 2556, 21:53:17 แจ้งลบ
onto คือ ทั่วถึง ต้องใช้เรนจ์ทั้งหมดค่ะ จับซ้ำได้ค่ะ แต่ว่าต้องจับทั้งหมด

ตัวอย่างนี้
A=(1,2,3) B=(6,7)
ที่ลบ 2 คือ ลบกรณีที่โดเมนทุกตัวจับกับ 6 และลบกรณีที่โดเมนทุกตัวจับกับ 7 ค่ะ
# 06 ต.ค. 2556, 10:54:01 แจ้งลบ
ผมงง ตย.3 ข้อ 3 อ่าครับพี่โต๋
ผมงงที่ว่า ทำไม 1(ในA) จับ Bทั้ง4ตัว แล้วทำไม 2(ในA) ยังไปจับ 1 2 4(ในB) ได้ ทั้งๆที่ 1 จับครบไปแล้ว??? (คือมันไม่ถือเป็นการจับซ้ำกันหรอครับ??
(ถามเอง งงเอง เอาเป็นว่า รบกวนพี่โต๋อธิบายอีกรอบละกันครับ TT)
# 06 ต.ค. 2556, 13:45:05 แจ้งลบ
1(ในA) เลือกได้ว่า จะจับกับ 1,2,3,4 (ใน B) ตรงนี้ได้ 4 วิธี

คือ 1(ในA) ไม่ได้จับกับทุกตัว แต่ให้เลือกว่าจะจับกะตัวไหนใน B ได้แค่ตัวเดียว สมมติ 1(ในA) เลือกจับกับ 3(ใน B) แปลว่า ใน B จะเหลือ 1,2,4 ที่ยังว่างอยู่นะ

ทีนี้ตา 2(ในA) เลือกบ้าง ก็จะเลือกได้ว่าจะจับกับ 1,2,4(ในB) [ห้ามเลือก 3 เพราะเมื่อกี้ 1 เลือกไปแล้ว] ตรงนี้ได้อีก 3 วิธีค่ะ

เอามาคูณกัน 4x3 ตอบจ้ะ

# 01 มิ.ย. 2556, 21:14:34 แจ้งลบ
ผมไม่เข้าใจนะครับ
อย่างเช่น ข้อ1A= {1,2} B= {3}
จงหาจำนวนฟังก์ชั่น จาก AไปB ทำไมมันมี 1แบบหรอครับ ผมยังไม่เข้าใจ มันไม่มี2แบบ หรอครับ คือ{1,3}{2,3} แบบ ไม่ใช่หรอครับ
# 01 มิ.ย. 2556, 22:21:09 แจ้งลบ
ได้ 1 แบบค่ะ ได้เป็นแบบนี้
f = {(1,3) , (2,3)} ได้แบบนี้ เพราะว่าจะเป็นฟังก์ชันจาก A ไป B ต้องใช้ โดเมนหมดทุกตัว (สมาชิกตัวหน้าของคู่อันดับ)

แบบที่น้องบอก ว่าได้ 2 แบบ คือ
f1= {(1,2)}
f2 = {(1,3)}
แบบนี้ใช่ป่าวคะ ดูแค่ f1 ก่อนนะ จะเห็นว่าใช้โดเมนแค่ตัวเดียว คือ 1 ก็ไม่ครบแล้วนะ

คือ ออกมาได้ 2 คู่อันดับ แต่ว่า ฟังก์ชันเดียวนะ
# 22 ก.ค. 2556, 22:32:06 แจ้งลบ
ขั้นตอนก่อนลบออกสองตัวเป็นการหา into แล้วลบตัวที่เป็น into ที่ใช้ตัวซ้ำกันออก อย่างนี้ใช่มั๊ยคะ อิอิ
# 23 ก.ค. 2556, 15:32:24 แจ้งลบ
ไม่ใช่ลบตัวที่ซ้ำออกนะ ประเด็นคือ ต้องใช้เรนจ์ครบทุกตัวค่ะ ทีนี้ตอนที่คิดแบบ into น่ะ มันรวมกรณีที่ ใช้เรนจ์ตัวเดียวไปด้วย ก็เลยต้องลบออก

ลองดูรูปนะ ตยที่ 3 ข้อ 4วาดไว้เป็นกรณีที่ใช่้เรนจ์คือ 1 แค่ตัวเดียวค่ะ
# 10 พ.ค. 2557, 19:50:28 แจ้งลบ
พี่โต๋ค้ะ แล้วตกลงว่าเราจะต้องลากเส้นตรงขนานกับแกนxหรือ yกันแน่ค้ะ เห็นคลิบโน้นบอกว่า ขนานแกนy
# 10 พ.ค. 2557, 21:02:16 แจ้งลบ
ลากขนานแกน Y เช็คว่าเป็นฟังก์ชันหรือไม่
ลากขนานแกน X เช็คว่าเป็นฟังก์ชัน 1-1 หรือไม่

ลองฟังอีกทีนะคะ
# 17 ม.ค. 2557, 12:46:27 แจ้งลบ
ตัวอย่างที่ 5 เวลาที่เราลากเส้นตรงต้องขนานกับแกน x อย่างเดียวหรอคะ แกน y ได้รึเปล่าคะ
# 17 ม.ค. 2557, 17:25:36 แจ้งลบ
การลากเส้นตรงขนานแกน x แล้วดูว่า ตัดกราฟกี่จุด เป็นการเช็คว่าฟังก์ชันที่โจทย์ให้มา เป็นฟังก์ชัน 1-1 หรือไม่ค่ะ (ถ้าตัด 1 จุด คือเป็นฟังก์ชัน 1-1 )

ถ้าต้องการเช็คว่า กราฟเป็นฟังก์ชันหรือไม่ ให้ลากขนานแกน y ค่ ะ (ตัด 1 จุดเป็นฟังก์ชัน)

อย่างข้อนี้โจทย์กำหนดแล้วว่าเป็นฟังก์ชันให้เราเช็คต่อว่า เป็นฟังก์ชัน 1-1 หรือป่าว พี่เลยใช้วิธีลากขนานแกน x ค่ะ

You Geat!!อึ้ง
# 13 ก.ค. 2558, 07:45:49 แจ้งลบ
ดูยังไงว่าเป็น พาราโบร่า คว่ำ,หงาย,ตะแครงซ้าย ขวา หรอครับ
# 13 ก.ค. 2558, 09:44:06 แจ้งลบ
ดูที่สมการค่ะ
ถ้าตะแคงซ้ายขวา จะเป็น y2 = 4cx
ถ้าคว่ำหงาย จะเป็น x2 = 4cy

แต่เวลาเจอสมการอาจจะไม่เจอรูปแบบนี้ อาจจะเจอแบบจัดรูปแล้ว ให้สังเกตที่ y กับ x ก็ได้ค่ะ ว่าตัวไหนยกกำลังอะไร
# 10 ก.พ. 2559, 21:17:07 แจ้งลบ
ทำไมตย.ที่4ข้อ4ถึงได้2คำตอบละค่ะ งง?????????
# 10 ก.พ. 2559, 23:05:55 แจ้งลบ
ทั้ง 1 และ 3 อยู่ในเซต A กับ C
เลยตอบได้ทั้งสองคำตอบค่ะ
# 29 ต.ค. 2556, 21:27:10 แจ้งลบ
ข้อ3 ตัวอย่างที่ 4 ไม่ใช่เป็นแบบ into 1-1 หรอครับ
a-1,b-3
# 30 ต.ค. 2556, 00:05:23 แจ้งลบ
ข้อ 3 ตัวอย่างที่ 4 โจทย์เป็น
{(1,a),(3,a),(5,a)} นะ อันนี้ไม่ 1-1 แน่นอน มีหลายตัวเลยที่ไปจับคู่กับ a

แล้วก็จากที่น้องพิมพ์มาเหมือนเราดูคนละข้อกันนะคะ
# 08 ก.ค. 2558, 21:43:01 แจ้งลบ
จากตยที่5 ข้อ1 x เป็น6 มาจากไหนค่ะ 11 ด้วยค่ะ
# 11 ก.ค. 2558, 13:30:48 แจ้งลบ
เรากำลังจาก พล็อตกราฟค่ะ
เราก็ต้องหาจุดมา ซัก 2 -3 จุด จะได้รู้ว่ากราฟเป็นยังไง

ทีนี้ จุดที่เราเอามาเนี่ย ก็สมมติเอาเลย
พี่เลือกสมมติให้ถอดรูทได้ลงตัว

จุดแรกเอา x = 2 ไปแทนในสมการได้ y = 0
จุดสองเอา x=6 ไปแทนในสมการได้ y = 2
จุดสามเอา x=11 ไปแทนในสมการได้ y = 3
จะได้ 3 จุด เอาไปพล็อตกราฟตามรูปที่วาดค่ะ
# 17 มี.ค. 2560, 15:37:20 แจ้งลบ
ตัวอย่างที่ 4 ข้อ 4 เป็นแบบ into 1-1 รึเปล่าค่ะ?
# 04 เม.ย. 2560, 17:20:25 แจ้งลบ
ใช่ค่า
# 19 เม.ย. 2561, 13:21:20 แจ้งลบ
สมการพาราโบลา ดูยังไงหรอคะพี่
# 19 เม.ย. 2561, 23:48:55 แจ้งลบ
สอนอยู่ในเรื่องภาคตัดกรวย
ลองไปดูนะคะ
https://www.dektalent.com/vdo/72-parabola-equations/
# 17 ธ.ค. 2560, 16:11:54 แจ้งลบ
ทำไมเรียนฟังก์ชันไม่เข้าใจ SAD
# 17 ธ.ค. 2560, 20:41:55 แจ้งลบ
ตรงไหนไม่เข้าใจ ถามได้ค่ะ
# 17 ธ.ค. 2560, 16:15:39 แจ้งลบ
งงกับการใช้กราฟอ่าาาครับ
# 17 ธ.ค. 2560, 20:45:48 แจ้งลบ
งงว่าอะไรคะ
ไม่เข้าใจว่าวาดกราฟยังไง?
หรือไม่เข้าใจ ว่า ทำไมต้องใช้กราฟ ทำไมต้องดูด้วยกราฟ ?
ทำไมต้องลากขนานแกน ?

บอกละเอียดเลยนะคะ พี่จะได้ช่วยได้ค่ะ
# 23 ก.ค. 2556, 16:18:58 แจ้งลบ
ขอบคุณนะคะ
# 10 ต.ค. 2556, 21:00:02 แจ้งลบ
ถึงบางอ้อเลยครับพี่โต๋ ขอบคุณมากค้าบ ><Happy
# 30 ต.ค. 2556, 09:16:22 แจ้งลบ
ออ โทดทีครับ ข้อ4 ดูผิดข้ออ่ะครับ
# 18 ม.ค. 2557, 18:26:28 แจ้งลบ
อ่อค้า เข้าใจแล้วค้า Thank you!
# 30 เม.ย. 2557, 19:40:08 แจ้งลบ
ขอบคุณค่ะพี่ Thank you!
# 18 ต.ค. 2557, 15:58:34 แจ้งลบ
Thank you!Thank you!
# 1 วินาทีที่แล้ว แจ้งลบ

ตอบ: ฟังก์ชันจาก A ไป B (ตัวอย่างเพิ่มเติม)

กรุณา Login เข้าสู่ระบบเพื่อโพสต์ในบทสนทนานี้

 

 

หรือคุณสามารถ สมัครสมาชิกได้ฟรี สมัครวันนี้รับสิทธิ์เข้าเรียนคอร์สออนไลน์ฟรี 5 ชั่วโมง!

 

 

ขึ้นบน
อัพเดทล่าสุด: 19 มีนาคม 2567   สงวนลิขสิทธิ์ 2553-2566 DekTalent.com ฟังก์ชันจาก A ไป B (ตัวอย่างเพิ่มเติม) [วีดีโอ 16:39 นาที] - เรียนออนไลน์ที่เว็บ DekTalent.com Page Load Time: 1.762 วินาที IN